วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

ความหมายของAGVพร้อมภาพวีดีโอ

รถขับเคลื่อนอัตโนมัติ (AGV)
                เป็นรถที่มีการขับเคลื่อนโดยไม่มีคนขับ  เคลื่อนไปตามทางบนเส้นลวดที่ฝังไว้ใต้พื้นของโรงงาน  สามารถควบคุมเส้นทางเดินของรถได้โดยคอมพิวเตอร์  ในปัจจุบันมีการใช้อัลกอริทึม (algorithms) หลาย ๆ แบบเพื่อการคำนวณเส้นทางของลวดที่จะฝังลงบนพื้นและคำนวณเส้นทางที่น่าพอใจที่สุดของรถจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมาย  เส้นทางที่กล่าวถึงอาจเป็นแบบแสง (passive  fluorescent) หรือแบบแม่เหล็ก (magnetic  line) ถูกทาสีบนพื้นหรือการใช้ลวดนำทาง (active  guide  wire) ฝังไปในพื้น
                ส่วนประกอบของการนำทางของ AGV ประกอบด้วยตัวนำทิศทางระบบซึ่งปล่อยรถออกและควบคุมการนำทาง  การติดต่อกับรถทำได้โดยลวดนำทางซึ่งฝังไว้ใต้พื้น  ตัวนำระบบถูกติดต่อกับรถทั้งหมดตลอดเวลา  แต่ละคันมีความถี่นำทางของมันเองและตามลวดนำทางไปกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensor) ความถี่การติดต่อระดับสูงกว่าถูกใช้สำหรับการถ่ายทอดข้อมูลระหว่างตัวนำระบบกับแผงคอมพิวเตอร์ (on-board computers) ดังนั้นตัวนำระบบจะได้รับการแจ้งตลอดเวลาเกี่ยวกับตำแหน่งและสภาวะของการยกของรถ  ตำแหน่งของรถสามารถแสดงได้บนสถานี (terminal) วัสดุซึ่งอยู่บนรถถูกกำหนดโดยการอ่านสัญลักษณ์บาร์โค๊ด (bar code) และข่าวสารถูกถ่ายทอดไปโดยช่องของข้อมูลไปยังตัวนำระบบ  การเดินทางของรถทั่วทั้งโรงงานถูกกำหนด ณ จุดยุทธศาสตร์เนื่องจากผลตอบสนองในพื้นและตัวรับในรถ ณ จุดที่กำหนดรถได้รับคำแนะนำในการติดตามเส้นทางที่ให้ไว้  หน้าที่ที่จำเป็นของตัวนำระบบมีดังนี้
                      1. การเลือกของรถและการจัดการกับรถที่ว่าง
                      2. การควบคุมของการจัดสรรลำดับของรถ
                      3. การเก็บข้อมูลของตัวขนถ่าย
                      4. การควบคุมของทิศทางที่ถูกต้อง
               
การกระจายรถแบบอัตโนมัติโดยคนขับ
                การปฏิบัติการด้านการผลิตกำลังต้องการระบบการขนถ่ายวัสดุที่คล่องแคล่วอย่างสูง จึงมีบ่อยครั้งที่มีการใช้รถที่มีคนขับ  เช่น รถยกปากซ่อม  รถเหล่านี้สามารถที่จะถูกพัฒนาได้อย่างเต็มที่เพื่อให้มีความยืดหยุ่นสูงกับการช่วยของสถานี (terminal) ที่เคลื่อนที่ได้ ซึ่งถูกติดต่อโดย วิทยุ หรือ แสงอินฟาเรด  เชื่อมไปยังคอมพิวเตอร์ สองวิธีของการควบคุมการปฏิบัติการปล่อยรถถูกใช้คือตัวรับและตัวส่งการปฏิบัติงานด้วยเสียง (voice  operated  receiver / transmitters) หรือสถานีคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ได้ (portable  computer  terminals) วิธีการที่จะให้รถออกจากที่เก็บของมันถูกจัดการโดยคอมพิวเตอร์ควบคุมซึ่งมีอัลกอริทึมในการหาเส้นทางที่น่าพึงพอใจมากที่สุด (optimization  algorithm) เพื่อลดระยะทางการเดินทางโดยรถ



               
รถสำหรับการเคลื่อนวัสดุแบบอิสระ
                ในปัจจุบันความพยายามได้เริ่มในการพัฒนารถที่เป็นอิสระสำหรับการเคลื่อนย้ายวัสดุ  มันเป็นไปได้ที่จะสร้างโรงงานการผลิตที่มีความยืดหยุ่นสูงมาก  แต่ละการรวมกันของเครื่องมือเครื่องจักรอาจจะถูกเชื่อมต่อกันตามแนวความคิดทางการผลิตที่เป็นจริง
                ระบบอิสระเป็นความสามารถในการวางแผนและบริหารตามงานที่ให้ไว้  เมื่อการวางแผนงานสามารถทำได้แล้วการบริหารก็สามารถที่จะเริ่มได้  ระบบตัวตรวจรู้ (sensor) แบบซับซ้อนถูกกระตุ้นซึ่งนำและแนะนำการเดินทางของรถ  มันเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าใจและแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้การช่วยเหลือของระบบฐานข้อมูลที่ใส่ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์  ส่วนประกอบพื้นฐานของรถประสิทธิภาพสูงแบบอิสระมีดังนี้
                    1. ระบบกลไกและการขับ (Mechanics  and  drive  system)
                    2. ระบบการตรวจรู้ (Sensor  system)
                                - ตัวตรวจรู้ภายใน (internal  sensors)
                                - ตัวตรวจรู้ภายนอก (external  sensors)
                    3. ตัวนำทางและตัววางแผนการเดินทาง (Planner  and  navigator)
                                - ตัววางแผน (planner)
                                - ตัวนำทาง (navigator)
                                - ระบบชาญฉลาด (expert system)
                                - อัลกอริทึมที่ใช้ในการควบคุม (knowledge base)
                                - ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล (data  knowledge)
                  4. โมเดลการทำงานทั่วไป (World  model)
                                - ส่วนคงที่ (static component)
                                - ส่วนไดนามิก (dynamic component)
                    5. ระบบคอมพิวเตอร์ (The computer system)

                รถขับเคลื่อนอัตโนมัติต้องมีความสามารถต่างๆดังต่อไปนี้
1. การวางแผนและเตรียมการแบบอิสระของหลักสูตรของการปฏิบัติตามงานที่ให้ไว้      เช่น การ
    ขนส่ง ชิ้นงานจากสถานที่เก็บไปยังเครื่องมือเครื่องจักร
    2. การบริหารการวางแผนและการตรวจเป็นอิสระของหลักสูตรการปฏิบัติ
    3. ความเข้าใจในสภาพแวดล้อมกับการช่วยของตัวตรวจรู้ (sensors)  และการแปล             
        ความหมายของผลลัพธ์
4. ปฏิกิริยาเป็นอิสระในการเกิดเหตุการณ์ที่ไม่เคยเห็น  เช่น ถ้ารถเจอวัตถุที่ไม่เคยเห็นเข้ามาใน
    เส้นทางของมัน รถต้องสามารถที่จะเข้าใจและหลีกเลี่ยงมัน
5. การเรียนแบบ passive และ active รถต้องสามารถเรียนจากงานที่มันทำเพื่อที่จะพัฒนา
    ความสามารถในการปฏิบัติงานของมัน
               

การวางแผนและการตรวจโดยรวม
                เมื่อชิ้นส่วนถูกเคลื่อนทั่วทั้งโรงงาน  ลำดับการเคลื่อนที่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา  ผู้วางแผนการปฏิบัติโดยรวมทำการจัดลำดับและเริ่มวางแผนที่ระดับยุทธศาสตร์  การคำนวณถูกเริ่มขึ้น  กี่ชิ้นส่วนต้องนำกลับมา  ชิ้นส่วนเหล่านั้นต้องถูกวางลง ณ ตำแหน่งใด  พวกมันควรจะถูกยกเท่าไร  หลังจากนั้นคำสั่งของการเคลื่อนที่ชิ้นส่วนถูกวางในแถวคอย  และคำสั่งถูกผ่านขบวนการเมื่องานกำลังทำอยู่เสร็จสิ้นลง  กลยุทธ์ของขบวนการแต่ละคำสั่งในแถวคอยอาจจะขึ้นอยู่กับวันส่งของ  ความสำคัญ  เวลาปฏิบัติการหรือปัจจัยอื่นๆ  การเคลื่อนชิ้นส่วนเกี่ยวข้องกับ docking และ undocking การนำทาง การยกขึ้นและลง สำหรับแต่ละหน้าที่เหล่านี้ module การควบคุมแยกออกมาถูกเตรียมไว้
         
ระบบการนำทางและวางแผนเส้นทาง
                จากการช่วยของโมดูล (module) การนำทางและการวางแผนเส้นทางรถสามารถคำนวณเส้นทางของมันตามพื้นโรงงาน มันจะพยายามวางแผนเส้นทางที่น่าพอใจมากที่สุดระหว่างตำแหน่งเริ่มและตำแหน่งเป้าหมายและมันพยายามที่จะอยู่บนเส้นทางนั้น  หลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางและการชนที่เป็นไปได้  ระบบการนำทางต้องถูกปรับปรุงในการใช้งาน  บ่อยครั้งงานง่ายๆในระบบการเก็บวัสดุสามารถที่จะแก้ไขได้โดยการคำนวณคงที่ (dead  reckoning) ของรถจากจุดเริ่มถึงจุดเป้าหมาย
                 1. ที่ระดับการวางแผน  ผู้วางแผนวาดเส้นทางที่เป็นไปได้และไม่มีการชนเกิดขึ้นโดยการใช้อัลกอริทึมที่ชาญฉลาด (expert  knowledge) อย่างไรก็ตาม ณ จุดเริ่มต้นรถต้องคำนวณจุดเริ่มของมัน  สิ่งนี้ทำโดยเริ่มตรงที่รู้โดยตัวตรวจรู้ (sensor) ผู้วางแผนอาจจะลองค้นหาเพื่อเจอแผนที่ดีที่สุด  ตามเงื่อนไขของการพึงพอใจมากที่สุดแล้วอาจจะเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดหรือเส้นทางที่มีสิ่งกีดขวางอยู่น้อยที่สุด
                2. ที่ระดับการนำทางมีโมดูล (module) การวางแผนท้องถิ่นซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับเส้นทาง  วัตถุของมันและสิ่งกีดขวางที่เป็นไปได้  การวางแผนที่ดีของการนำทางถูกทำบนพื้นฐานของแผนซึ่งถูกร่างจากระดับก่อนหน้านี้  ดังนั้นสภาวะท้องถิ่นทั้งหมดอาจจะถูกพิจารณา  มันเป็นสิ่งสำคัญในการเข้าใจสิ่งกีดขวางที่ไม่รู้โดยการใช้ตัวตรวจรู้ (sensors) และรายงานสภาวะที่ไม่ปกติให้กับระบบวางแผนปัญหาทั้งหมดต้องถูกพิจารณาเพื่อการวางแผนในอนาคต

              3. ที่ระดับการขับเป็นสิ่งที่ถูกกระทำเป็นหน้าที่การควบคุมเบื้องต้นของรถ  สำหรับการวางแผนเส้นทางเดิน  แผนที่ของโลกถูกใช้ในการแสดงเส้นทางที่จะเดินทางในรายละเอียด  สำหรับการปฏิบัติการง่ายๆแผนที่สองมิติก็เพียงพอสำหรับเส้นทาง  ทางแยกย่อยแลทางตัด  กับการช่วยของแผนที่ส่วนของเส้นทางถูกคำนวณ  

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รายชื่อไฟฟ้าอุตสาหกรรม56

รายชื่อสมาชิก

1.อาจารย์ ธภัทร     ชัยชูโชค                     อ.ปาล์ม
2.นายวงศธร          อินทมะโน                   พี่หมีด
3.อภิสิทธ์              ยะโกบ                       น้องดุล
4.จตุพงค์              ณ สงขลา                   พี่พงค์
6.พีระพงศ์               จันทร์ชู                     พงศ์ 
7.นายกฤษกร            สุวรรณวงศ์                   เอฟ
8.นายจิรพงศ์           แจ่มศรี                      พงศ์
9.นายชัยยงค์           ชูแก้ว                        ปั๊ม
10.นายเชิดชาย         เรืองฤทธิ์                  ชาย
11.นายตวิษ             เพ็งศรี                       บ่าว
12.นายธีรวุฒิ           ศรีสวัสดิ์                     วุฒ
13.นายนพรัตน์         แก้วกำเนิด                  เอ็กซ์
14.นายนันทปรีชา     ปิยะบุญสนอง               โปร
15.นายนิรันดร์          เสมอพบ                     แบ
16.นายนิโรจน์         หวันปรัตน์                    ซอล
17.นายปภังกร          เอียดจุ้ย                      กิ๊ป
18.นายปรินทร์         ผุดผ่อง                       บอล
19.นายพิชชากร        มีบัว                          กร
20.นายภาคภูมิ         จุลนวล                       เจ
21.นางสาวเยาวเรศ    ร่วมพรภาณุ                โรส
22.นายรชต              อารี                          รอน
23.นายรุสดี              วาลี                          ซี
24.นายวสุ                ราชสีห์                      หนัง
25.นายวัชรินทร์         เขียนวารี                   ปอนด์
26.นายวิฆเนศ           ณ รังษี                      หมู
27.นายวิโรจน์           เหมมาน                     ลิฟ
28.นายศุภวัฒน์         ไชยของพรม               รุส
29.นายสมประสงค์      วงศ์สุวรรณ                 ทู
30.นายสราวุฒิ           เกบหมีน                   ซอล
31.นายสานิต             มิตสุวรรณ                 ปอ
32.นายสุรเดช            สม่าแห                     ยา
33.นายสุรศักดิ์           สะเกษ                      โจ้
34.นายเสะมาดี          ตูแวดาแม                   ดี
35.นายอนุพงษ์          เทพพรหม                  ทิว
36.นายอภิเดช           ทองอินทร์                 โหนด
37.นายอภิวัฒน์          เจิมขวัญ                    กุ้ง
38.นายอับดุลรอมัน     บูกา                          ดุล
39.นายอับดุลเลาะ      กาโฮง                       เลาะ
40.นายอาคม             เรืองกูล                     แบงค์
41.นายอาจณรงค์       ราชูภิมนต์                   มิค
42.นายอานนท์          นาควิเชียร                  นนท์
43.นายอาลียะ           สะอุ                          ฟาน
44.นายอาหามะซุบฮี   จะแน                         มะ
45.นายอิสมาแอ         มะยี                          ออ
46.นายเกรียงศักดิ์      บุญประเสริฐ                เบียร
47.นายพุฒิพงศ์         หนูนอง                      พงค์
48.นายจตุรงค์           หิรัญกูล                      นิ
49.วิฆเนศ                ณ รังษี                       หมู

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING TOPOLOGY)

การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (RING TOPOLOGY) เป็น การเชื่อมต่อเครือข่าย เป็นรูปวงแหวนหรือแบบวนรอบ โดยสถานีแรก เชื่อมต่อกับสถานีสุดท้าย การรับส่งข้อมูลในเครือข่ายจะต้องผ่านทุกสถานี โดยมีตัวนำข่าวสาร วิ่งไปบนสายสัญญาณ ของแต่ละสถานี ต้องคอยตรวจสอบข้อมูลที่ส่งมา ถ้าไม่ใช่ของตนเอง ต้องส่งผ่านไปยังสถานีอื่นต่อไป ตัวอย่างเช่น การเชื่อมต่อของ IBM Token Ring ที่ต้องมีตัวนำข่าวสาร หรือ Token นำข่าวสารวิ่งวนไปรอบสายสัญญาณหรือ Ring แต่ละสถานีจะคอยตรวจสอบ Token ว่าข่าวสารที่นำมาด้วยเป็นของตนหรือไม่ ถ้าใช่ก็จะรับข่าวสารนั้นไว้ แล้วส่ง Token ให้สถานีอื่นใช้ต่อไปได้ 
ข้อดี ของ การเชื่อมต่อแบบนี้คือ ใช้สายส่งสัญญาณน้อยกว่าแบบดาว เหมาะกับการเชื่อมต่อ ด้วยสายสัญญาณใยแก้วนำแสง เพราะส่งข้อมูลทางเดียวด้วยความเร็วสูง

ข้อเสีย คือ ถ้าสถานีใดเสีย ระบบก็จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ จนกว่าจะแก้ไขจุดเสียนั้น และยากในการตรวจสอบว่ามีปัญหาที่จุดใด และถ้าต้องการเพิ่มสถานีเข้าไป จะกระทำได้ยาก

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี  เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก  มีราคาถูกลง  สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล  ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก  รวดเร็วตลอดเวลา  จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน


รูปที่ 1.1 การติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียม

    เราลองจินตนาการดูว่า  เราเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านใดบ้างจากตัวอย่างต่อไปนี้   เมื่อตื่นนอนเราอาจได้ยินเสียงจากวิทยุ  ซึ่งกระจายเสียงข่าวสารหรือสาระบันเทิง  เราใช้โทรศัพท์สื่อสารกับเพื่อน  ดูรายการทีวีหรือวีดิทัศน์  ระหว่างมาโรงเรียนเดินทางผ่านถนนที่มีระบบไฟสัญญาณที่ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์  ที่ศูนย์การค้าเราขึ้นลิฟต์ ขึ้นบันไดเลื่อนที่มีการควบคุมการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์  ที่บ้านอาจมีเครื่องปรับอากาศที่ควบคุมอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ  ทำอาหารด้วยเตาอบ  ซึ่งควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ซักผ้าด้วยเครื่องซักผ้า  จะเห็นว่าชีวิตในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอันมาก  อุปกรณ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เป็นส่วนประกอบในการทำงาน

 
รูปที่ 1.2 เครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน

    ในอดีตยุคที่มนุษย์ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน   มีชีวิตที่เร่ร่อน   มีอาชีพเกษตรกรรม  ล่าสัตว์  ต่อมามีการรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง    และทำให้เกิดการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการปริมาณมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง  แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530  เป็นต้นมา  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก  ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ  ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก  การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง  ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว  สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน  เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ  ได้อย่างรวดเร็ว

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
    คำว่า   “เทคโนโลยี”     หมายถึง    การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ  กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ    และการนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์    เทคโนโลยีจึงเป็นคำที่มีความหมาย กว้างไกล  เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดเวลา


รูปที่  1.3 วงจรรวม

    ส่วนคำว่า “สารสนเทศ”  หมายถึง  ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์  มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ  เป็นจำนวนมาก     เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่    กฎเกณฑ์และวิชาการ


รูปที่  1.4 สื่อที่ช่วยในการรับส่งข้อมูลข่าวสาร

    ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ  การเรียกใช้  การประมวลผล  และการคิดคำนวณ  ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ  เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ  เช่น  เครื่องคอมพิวเตอร์  ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา  ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย  และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก  เครื่องจักร  อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์  อุปกรณ์รอบข้าง  ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่   ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่างๆในชีวิตประจำวัน
    เมื่อรวมคำว่า “เทคโนโลยี” กับ “สารสนเทศ”  เข้าด้วยกัน  จึงหมายถึง  เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ  เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล  การประมวลผล  การพิมพ์  การสร้างรายงาน  การสื่อสารข้อมูล  ฯลฯ  เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึง  เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ  การใช้  และการดูแลข้อมูล


รูปที่  1.5 การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม

    เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวาง   รอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก  ดังนี้
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล  เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ  นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในการสอบที่มีผู้เข้าสอบจำนวนมากก็มีการใช้ เดินสอดำระบายตามช่องที่เลือกตอบ  เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้  เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code)  พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องอ่านรหัสแท่งเพื่ออ่านข้อมุลการซื้อ สินค้า  เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน  การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการข้อมูล  จะเห็นได้ว่าการเก็บ
รวบรวมข้อมูลจากคอมพิวเตอร์สามารถเก็บได้หลายแบบ


รูปที่ 1.6 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล  โดยพนักงานใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่ง

        2. การประมวลผล  ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ  เช่น  แผ่นบันทึก 
แผ่นซีดี  และเทป  ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามความต้องการ  เช่น  แยกแยะข้อมูล
เป็นกลุ่ม  เรียงลำดับข้อมูล  คำนวณ  หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น


รูปที่ 1.7 ตัวอย่างการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยพนักงานใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่ง

        3. การแสดงผลลัพธ์  คือการนำผลจากการประมวลผลที่ได้  มาแสดงผลลัพธ์ให้อยู่ในรูปแบบต่าง ๆ   อุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์มีมาก  สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ  รูปภาพ   ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ     การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ     เสียง  และวีดิทัศน์  เป็นต้น
 

รูปที่ 1.8 การแสดงผลลัพธ์ทางเครื่องพิมพ์

        4. การทำสำเนา  เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ  การทำสำเนาจะทำ
ได้ง่าย  และทำได้เป็นจำนวนมาก  อุปกรณ์ที่ช่วยในการทำสำเนาจัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศอีกประเภทหนึ่งที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง  เรามีเครื่องพิมพ์  เครื่องถ่ายเอกสาร  อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์  เช่น  แผ่นบันทึก  ซีดีรอม  ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก


รูปที่  1.9 ตัวอย่างการทำสำเนา

        5. การสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นวิธีการที่จะส่งข้อมูลหรือข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง  หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ  ปัจจุบันมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท    ตั้งแต่โทรเลข  โทรศัพท์  โทรสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีรูปแบบของสื่อหลายอย่าง  เช่น  สายโทรศัพท์  เส้นใยนำแสง  เคเบิลใต้น้ำ  คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ   และดาวเทียม


รูปที่  1.10 การสื่อสารโทรคมนาคม


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
    โดยพื้นฐานของเทคโนโลยี ย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้  แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก   ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ  มีดังนี้
        1. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การทำงานรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ   ในระบบการจัดการขององค์กรทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและตัดสินใจ    ระบบธุรกิจจึงใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยในการดำเนินการเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็ว  ถูกต้อง  และแม่นยำ  เช่น  ใช้ในระบบฝากถอนเงิน และระบบจองตั๋วเครื่องบิน
        2. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยทำให้การบริการกว้างขวางขึ้น  เมื่อมีการพัฒนาระบบเก็บและใช้ข้อมูล  ทำให้การบริการต่างๆอยู่ในรูปแบบการบริการแบบกระจาย  ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน  สามารถถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์  นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้
        3. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยดำเนินการในหน่วยงานต่างๆ  ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในองค์กร  ประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบคอมพิวเตอร์  ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล  ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษีซึ่งในปัจจุบันองค์กรทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้


รูปที่  1.11 เว็บไซต์ระบบทะเบียนราษฎร์

        4. เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยงานในชีวิตประจำวัน 


รูปที่ 1.12 สารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ


ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ    ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมมีมาก  มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง  ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวไว้ดังนี้
        1. การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม  เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น  มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน  เช่น  ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ  ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน  เป็นต้น


รูปที่ 1.13 ตัวอย่างการใช้รีโมทเพื่อความสะดวกในการควบคุมโทรทัศน์

        2. เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง  แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร  ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้  มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล  การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล  นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
        3. สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน  การเรียนการสอนในโรงเรียน มีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ  คอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา  จัดตารางสอน  คำนวณระดับคะแนน  จัดชั้นเรียน  ทำรายงาน  เพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน  ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น


รูปที่ 1.14 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

        4. เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่าง  จำเป็นต้องใช้สารสนเทศ  เช่น  การดูแลรักษาป่า  จำเป็นต้องใช้ข้อมูล  มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม  การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ  การพยากรณ์อากาศ  การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข  การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่างๆ  การตรวจวัดมลภาวะ  ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย  ที่เรียกว่า โทรมาตร  เป็นต้น


รูปที่ 1.15 ภาพถ่ายจากการสื่อสารผ่านดาวเทียมแสดงสภาวะพื้นดินและวัดมลภาวะ

        5. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ  กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี  อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม  มีการใช้ระบบป้องกันภัย  ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน

 
รูปที่  1.16 เรือจักรีนฤเบศร์

        6. การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม  การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก  ราคาถูกลง  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก  มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ  การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า  เพื่อให้ซื้อสินค้าสะดวกขึ้น


รูปที่  1.17 ตัวอย่างกระบวนการผลิตสินค้าในโรงงานอุตสาหกรรม

        7. ความคิดและการสร้างสรรค์  เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน  และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น
ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสาร

1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป
2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสารเข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย
3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย

     ข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร
      ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต  การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน  การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้
4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว
ผลกระทบเทคโนโลยีการสื่อสารส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไร?

ผลกระทบในทางบวก

1. การสื่อสารและโทรคมนาคมนั้น ส่งผลต่อระบบสังคมการเมื่องในแง่ของการเพิ่มช่องทางเลือกในการรับรู้ข่าวสารของประชาชนให้มากขึ้น ส่วนในระดับปัจเจกบุคคลนั้นพัฒนาการของเทคโนโลยี การสื่อสารทำให้เกิดการเรียนรู้ เกิดทัศนคติ ตลอดจนจิตสำนึกทางการเมืองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งร่วมกันโดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องพรมแดน รัฐบาลและอำนาจอธิปไตยอีกต่อไป

2. การขยายตัวของการสื่อสารและโทรคมนาคมได้มีอิทธิพลที่สร้างผลต่อสังคมไทยทั้งในทางตรงและทางอ้อม อันเนื่องมาจากการหลั่งไหลของ "ทุนนิยมสมัยใหม่" ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้ทุนนิยมโลก การค้าระหว่างประเทศ หรือธุรกิจข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่อการเมืองไทย เกิด "การหลั่งไหลของทุนและข้อมูลข่าวสาร" เข้าสู่ทุกส่วนของประเทศไทย

3. การสื่อสารโทรคมนาคมมีความสะดวกติดต่อกันง่านขึ้นจึงส่งผลให้การรับรู้ข่าวสารมีความรวดเร็ว และมีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วโลก หรือเกิดเป็นลักษณะ "หมู่บ้านโลก" (global village) และ "วัฒนธรรมโลก" (global culture) ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรม อันเนื่องมาจากสื่อสารที่รวดเร็วเสมือนอยู่ในชุมหรือประเทศเดียวกัน ทำให้เกิดการส่งผ่านวัฒนธรรมผ่านสื่อทันสมัยในยุคโลกาภิวัตน์ จากประเทศตะวันตกที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมแตกต่างกับสังคมไทย ทัศนคติและค่านิยมสมัยใหม่แบบตะวันตกจะหลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยที่ยังคงมีทัศนคติ ค่านิยมและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิมอยู่ จึงเกิดความขัดแย้งทางวัฒนธรรมนำมาซึ่งปัญหาสังคมต่างๆ มากมาย



ผลกระทบในทางลบ

ผลกระทบที่เกิดจากเทคโนโลยีการสื่อสาร และโทรคมนาคาที่เกิดขึ้นในทางลบมีหลายประการ เช่น ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ อาชญากรรมบนอินเตอร์เนต  การแพร่ภาพอนาจารย์บนเครือข่าย การแพร่กระจายของข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชน  การพนันบนเครือข่าย การพาณิชย์ที่ขัดต่อกฏหมายและศิลธรรม ปัญหาบุคลากรสาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศ


1. เมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มเข้ามามีบทบาทต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ปัญหาอาชญากรรมชนิดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเริ่มจะสร้างปัญหาให้แก่สังคมโดยรวม จนรัฐบาลของประชาชนที่เกิดจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์

2. ธุรกิจที่ทำภายใต้เทคโนโลยีสารสนเทศและอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ขัดต่อศิลธรรมและจริยธรรมมีมากมาย ทั้งที่ผิดศิลธรรมชัดเจน และที่อยู่ในข่ายหลอกลวงให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ธุรกิจเหล่านี้มาในรูปแบบหนึ่งของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

3. ปัจจุบันการจัดเก็บข้อมูลในระบบออนไลน์ช่วยให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลมักจัดทำเพื่อประโยชน์ในกิจกรรมของนิติบุคคล หรือการให้บริการของหน่วยต่างๆ ซึ่งผู้ใช้บริการมักเข้าใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลที่ให้ไว้นั้นจะไม่ถูกนำไปเผยแพร่หรือนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ แต่ในความเป็นจริงข้อมูลเหล่านี้อาจถูกละเมิดได้ โดยที่เจ้าของข้อมูลอาจรู้เลยก็ได้




4. อินเทอร์เน็ตนั้นมิได้มีแต่ประโยชน์เพียงด้านเดียว เป็นที่ยอมรับกันว่าความไร้ขอบเขตของการออนไลน์ทำให้เกิดผลในทางลบหลายๆ ประการ ที่เห็นได้ชัดคือปัญหาสื่อลามกอนาจาร การล่อลวง เกมออนไลน์ เป็นต้น ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยเหล่านี้มักเป็นกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ซึ่งขาดความรู้ ความเข้าใจ และความระมัดระวังตัวในการออนไลน์หรือการใช้เทคโนโลยีดังกล่าว

ดีจ้า

นาย สมศักดิ์  มากเอียด
ชื่อเล่น กล้วย
0917680162